3จับ และ 4จับ อิสระ,เข้าพร้อม (มีทุกขนาด)
ยี่่ห้อ บิเนโก (BINACHO)
ติดต่อสอบถาม

 3จับ และ 4จับ อิสระ,เข้าพร้อม (มีทุกขนาด)

หัวจับแท่นกลึง

จับเข้าพร้อม

 

หัวจับแท่นกลึง

จับเข้าพร้อม

 

หัวจับแท่นกลึง

4 จับ อิสระ

SIZE

2"

 

SIZE

3"

 

SIZE

6"

3"

 

4"

 

8"

4"

 

5"

 

10"

5"

 

6"

 

12"

6"

 

8"

 

14"

8"

 

10"

 

16"

9"

       

20"

10"

       

24"

12"

15"

           

 

หัวจับหรือหัวจับเครื่องกลึง (Lathe Chucks) ยี่ห้อ: BINACHO (บิเนโก้)

คืออุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องกลึง ทำหน้าที่ในการจับชิ้นงานกลึงซึ่งหัวจับเครื่องกลึงที่นิยมใช้นั้นจะมี 3 แบบ ดังนี้

1. หัวจับเครื่องกลึง 3 จับ เข้าพร้อม  - จะมีฟันจับยึดชิ้นงานอยู่ 3 ฟัน ซึ่งฟันจับชิ้นงานทั้งสามฟันจะเคลื่อนที่เข้าจับชิ้นงานพร้อมๆกันโดยหมุนเกลียวปรับซึ่งเกลียวนี้จะขบกับเกลียวก้นหอย ทำให้เกิดการเคลื่อนที่พร้อมๆกัน เหมาะกับจับงานหกเหลี่ยมหรืองานทรงกลม 

2. หัวจับเครื่องกลึง 4 จับ อิสระ - จะมีฟันจับยึดชิ้นงานอยู่ 4 ฟัน ซึ่งฟันจับชิ้นงานทั้งสี่ฟันจะเคลื่อนที่เข้าจับชิ้นงานไม่พร้อมๆ หรือฟันเคลื่อนที่เป็นอิสระต่อกัน เหมาะกับจับงานทรงสี่เหลี่ยมหรือชิ้นงานรูปร่างแปลกๆ

3. หัวจับเครื่องกลึง 4 จับ เข้าพร้อม  - จะมีฟันจับยึดชิ้นงานอยู่ 4 ฟัน ซึ่งฟันจับชิ้นงานทั้งสี่ฟันจะเคลื่อนที่เข้าจับชิ้นงานพร้อมๆกันโดยหมุนเกลียวปรับซึ่งเกลียวนี้จะขบกับเกลียวก้นหอย ทำให้เกิดการเคลื่อนที่พร้อมๆกัน เหมาะกับจับงานทรงสี่เหลี่ยมหรือชิ้นงานรูปร่างแปลกๆ

 

TRICK : เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของหัวจับเครื่องกลึง 3 จับ และหัวจับเครื่องกลึง 4 จับ  

     หัวจับ 3 จับ   หัวจับ 4 จับ
หัวจับที่สามารถจับงานทรงสี่เหลี่ยมได้ :      NO YES
หัวจับที่สามารถจับงานทรงหกเหลี่ยมได้ :     YES NO
หัวจับที่สามารถ turn off-center ได้ :      NO YES

  

TRICK : เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของหัวจับเครื่องกลึงอิสระ และ หัวจับเครื่องกลึงแบบเข้าพร้อม

     หัวจับอิสระ     หัวจับเข้าพร้อม
หัวจับที่ประหยัดเวลาในการติดตั้ง :      NO YES
หัวจับที่จับรูปทรงแปลกๆได้ :      YES NO
หัวจับที่หาศูนย์กลางของงานกลึงได้ง่าย :      NO YES

 

และผู้อ่านเคยสงสัยไหมว่า ดูยังไงว่าหัวจับเครื่องกลึงตัวนี้กี่จับ

วันนี้ทางบริษัทพามาไขข้อสงสัยกัน

หัวจับ 4 จับ เข้าพร้อมหัวจับอิสระ,เข้าพร้อมหัวจับอิสระ,เข้าพร้อม

ตัวฟันตรงข้างหน้าหัวจับเห็นไหมว่ามี 4ฟัน ดังนั้นก็คือ 4 จับนั้นเอง

ส่วนวิธีการดู 3 จับ ก็เหมือนกันเลยกับ 4 จับ 

 

 lathe chuck 4 jaw self centeringlathe chuck 3 jaw self centeringlathe chuck 4 jaw independent lathe

 

วิธีจับชิ้นงานด้วยหัวจับ 3 จับ

จับชิ้นงานด้วยหัวจับ 3 จับหัวจับ 3 จับ

1.ใช้ประแจขันหัวจับ คลายปากของหัวจับ 3 จับ และหมุนทวนเข็มนาฬิกาให้ ปากจับของหัวจับ มีความกว้างกว่าชิ้นงาน

2.หลังจากนั้นให้นำชิ้นงานใส่เข้าไปในช่อง ปากจับของหัวจับ โดยให้ปลายชิ้นงานห่างจากปากของหัวจับพอประมาณ

3.ไขประแจขันตามเข็มนาฬิกาจนกระทั่งปากจับชิ้นงานแน่น และจึงถอดประแจออกจากหัวจับ

 

วิธีการจับยึดหัวจับเครื่องกลึงกับเพลาหมุนที่หัวแท่นเครื่อง

โดยปกตินั้นหัวแท่นกลึง จะอยู่ทางด้านซ้ายของแท่นเครื่อง(ฺBED)

เป็นส่วนที่ใช้จับยึดหัวจับเครื่องกลึง ยันศูนย์หน้า หน้าจานพา หัวจับยันศูนย์ หัวจับคอลเลต

เพื่อทำการกลึงชิ้นงานโดยมีวิธีการจับยึดหัวจับเครื่องกลึงเข้ากับเพลา จะมี 2 แบบดังนี้

1.การจับยึดหัวจับแบบเเกลียว 

หัวจับยึดแบบเกลียว

 

2.การจับยึดหัวจับแบบหน้าจานประกบซึ่งหลังจากจับยึดหัวจับเข้ากับเครื่องกลึงแล้ว แกนหมุนของเพลาจะถูกขับให้หมุนด้วยมอเตอร์ โดยผ่านระบบฟันเฟืองหรือสานพานต่างๆที่ติดอยู่ใต้หัวแท่นสำหรับการเปลี่ยนความเร็วของเครื่องกลึงจะต้องหยุดเครื่องก่อนเสมอ ยกเว้น เครื่องกลึงพิเศษที่สามารถปรับความเร็วได้ต่อเนื่องขณะเดินเครื่องอยู่

หัวจับยึดแบบหน้าจานประกบ

 

วิธีการใส่หัวจับกับหัวแบ่ง (How to put CHUCK in indexing head)

หัวแบ่ง คือ อุปกรณ์ที่ช่วยจับยึดเพื่อให้งานมีความเที่ยงตรงสูง สะดวกรวดเร็ว สามารถที่จะช่วยให้การทำงานนั้นอยู่ในลักษณะเคลื่อนที่อยู่กับที่ได้ โดนหัวแบ่งจะนิยมไปใช้ร่วมกัยเครื่องจักรกลต่างๆหลายประเถท เช่น เครื่องเจาะ เครื่องกลึง เครื่องเจียระไน เครื่องไส และเครื่องกัด เป็นต้น  โดยหัวแบ่งนั้นจะแยกแบ่งเป็น 2 ส่วน 1.หัวจับแท่นกลึง (CHUCK)  2.จานยึด (PLATE) ซึ่งจะใช้สกรูขันยึดติดกับ แท่นครึ่งและจานยึด เพื่อไม่ให้ชุดหัวแบ่งเคลื่อนที่ไปๆมาๆขณะทำงาน

 

หลักการทำงานของหัวจับแท่นกลึง : หัวจับจะเป็นตัวจับยึดชิ้นงานให้แน่น และหมุนรอบตัวเองด้วยการส่งกำลังของมอเตอร์และชุดเฟืองทด หลังจากนั้นชิ้นงานจะถูกตัดเฉือนด้วยมีดกลึงที่เคลื่อนที่ไปตามแนวรางเลื่อนและป้อนมีดกินเนื้อตามแนวขวางเพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการ โดยส่วนมากจะนิยมกลึงงาน ดังนี้ กลึงงานปอก กลึงงานปาดหน้า  กลึงงานเกลียว กลึงงานลดขนาด  กลึงงานตกบ่า เจาะรู คว้านรู และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่ิงชิ้นงานที่ผลิตจากการกลึงจะได้แก่ ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่อวจักร เป็นต้น

ข้อควรระวังการใช้หัวจับแท่นกลึง : ห้ามคาประแจขันหัวจับค้างไว้บนหัวจับ เพราะเมื่อเปิดเครื่องกลึง ประแจขันหัวจับอาจจะกระเด็นถูกตัวได้ 

 

วิธีการจับนอกและการจับในของหัวจับแท่นกลึง เนื่องด้วยตัวชิ้นงานกลึงนั้นมีหลายรูปทรง ทั้งทรงสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก ทรงกลม ทรงหกเหลี่ยมทำให้วิธีการจับงานกลึงมีความแตกต่างกัน สำหรับฟันของหัวจับนั้น สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.ฟันของหัวจับที่ไว้จับใน เหมาะสำหรับจับงานทรงกระบอก ทรงกลม ทรงหกเหลียมที่เป็นรูตันตามรูปที่แนบด้านล่างภาพ และยังสามารถจับใน ทรงวงแหวนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่จับผ่านภายในฟันกรรไกรประมาณ Diameter 1.1"  (28 mm.)  เรียกได้ว่าการจับในนั้น นิยมใช้กันมากที่สุด

การจับในของหัวจับ

2.ฟันของหัวจับที่ไว้จับนอ เหมาะสำหรับจับชิ้นงานกลึงขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่จับผ่านภายในฟันกรรไกรประมาณ Diameter 2.7"(68 mm.)

การจับนอกของหัวจับ

 

วิธีกลึงงานด้วยเครื่องกลึงกับหัวจับ การกลึงงานสามารถทำได้หลานวิธีดังนี้ กลึงปาดหน้า กลึงปอก กลึงเซาะร่อง บ่าฉาก กลึงขึ้นรูป กลึงเรียว กลึงเกลียว เจาะรู คว้านรู พิมพ์ลาย เป็นต้น 

1 .การกลึงปาดหน้า โดยมีวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงให้ห่างจากปากจับหัวจับเครื่องกลึงประมาณ 10 มม. และตั้งปลายมีดกลึงปาดหน้าให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงาน หลังจากนั้นเริ่มกลึงปาดหน้าจากจุดศูนย์กลางชิ้นงานไปสู่ขอบนอกของชิ้นงาน

 

2.การกลึงปอกและกลึงขนาด โดยมีวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้ได้ศูนย์กลาง สำหรับชิ้นงานที่มีรูปร่างยาวให้เจาะรูยันศูนย์ก่อน และตั้งมีดกลึงปอกให้ได้ศูนย์โดย มุมข้างมีด ทำมุมประมาณ 10-20 องศา  หลังจากนั้นให้ขีดเส้นร่องเล็กๆตามขนาดความยาวที่ต้องการบนชิ้นงานด้วยเวอร์เนียร์ไฮเกจ  เมื่อกลึงปอกความยาวไปได้ประมาณ 3 มม.แล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องด้วยเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ หลังจากนั้นทำการกลึงผิวงานให้เรียบละเอียดโดยเผื่อขนาดไว้ 0.5 มม.ก่อนเพื่อที่ขนาดความโต ความยาวจะได้ถูกต้อง

การกลึงปอก

 

3.การกลึงเซาะร่องบ่าฉาก โดยมีิวิธีคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้ได้ศูนย์กลาง สำหรับชิ้นงานที่รูปร่างยาวให้ยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น หลังจากนั้นจับมีดกลึงเซาะร่องบ่าฉากให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงานและทำการเริ่มเซาะร่องบ่าฉากตามขนาดที่กำหนดในแบบงานที่ต้องการ

 

4.การกลึงเซาะร่องโค้ง โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้้ได้ศูนย์กลาง สำหรับชิ้นงานที่รูปร่างยาวให้ยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น ตั้งมีดกลึงเซาะร่องให้ได้ศูนย์และวัดต่ำแหน่งกลึงเซาะร่อง ทำการปรับความเร็วรอบต่ำและเลื่อนมีดกลึงเซาะร่องให้โค้งไปตำแหน่งกลึง หลังจากนั้นทำการกลึงตามแบบที่กหนด

 

 

5.การกลึงงานขึ้นรูปโค้งนู้น โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้้ได้ศูนย์กลาง และยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น หลังจากนั้น จีบมีดกลึงให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงาน เลื่อนมีดตรงตำแหน่งกลึงขึ้นรูปและกลึงขึ้นรูปตามแบบสั่งงานที่กำหนด

 

6.การกลึงงานกลึงเรียว โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น ตั้งมีดกลึงให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงานและตั้งมุมเรียวที่แท่นเลื่อนบน หลังจากนั้นจึงกลึงเรียวให้ได้ขนาดที่ต้องการตามแบบ

 

7.การกลึงงานเจาะรูนำศูนย์ โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและให้ชิ้นงานยื่นออกจากปากจับประมาณ 10 มม.หลังจากนั้นจับดอกเจาะนำศูนย์ที่หัวจับดอกสว่าน เลื่อนดอกเจาะนำศูนย์เข้าใกล้ชิ้นงานและเจาะรูนำศูนย์ลึกตามขนาดที่กำหนด 

 

เครดิตรูป https://www.youtube.com/การเจาะรู โดยใช้เครื่องกลึงยันศูนย์

 

สอบถามราคา หัวจับเครื่องกลึง หรือ Lathe Chucks

*พิเศษ จัดส่งฟรีในเขตสมุทรปราการและกรุงเทพ

เบอร์โทรติดต่อ 02-744-3871-5  ต่อ102-105  FAX 02-748-5058

ID LINE : @BOWMAP    Website : http://www.bowmap.com/th

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2